ประเทศสมาชิกบิมสเทค กับสาขาความร่วมมือ

บังกลาเทศ
ประเทศนำสาขาการค้า การลงทุนและการพัฒนา

หนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งบิมสเทค และเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการบิมสเทค ตั้งแต่ ปี 2557 ปัจจุบันเป็นประเทศนำสาขาการค้า การลงทุนและการพัฒนา (Trade, Investment and Development) ซึ่งมีภารกิจสำคัญ คือ การผลักดันความตกลงเขตการค้าเสรีบิมสเทค (BIMSTEC Free Trade Area : FTA)


กลไกความร่วมมือที่สำคัญ

  • คณะทำงานว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดของสินค้า
  • คณะกรรมการเจรจาการค้าบิมสเทค
ภูฏาน
ประเทศนำสาขาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เข้าร่วมการเป็นสมาชิกบิมสเทคเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เลขาธิการบิมสเทค ปัจจุบันเป็นชาวภูฏาน (นายเท็นซิน เล็กเพลล์)ปัจจุบันภูฏานเป็นประเทศนำ สาขาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Environment and Climate Change) โดยภูฏานเสนอจัดตั้ง คณะทำงานร่วมด้านสิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศ (BIMSTEC Joint Working Group on Environment and Climate) เพื่อส่งเสริมการผลักดันประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ภายในภูมิภาคบิมสเทคให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

กลไกความร่วมมือที่สำคัญ
  • ศูนย์สภาพอากาศและภูมิอากาศของภูมิภาคบิมสเทค
อินเดีย
ประเทศนำสาขาความมั่นคง

หนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งบิมสเทค ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศนำสาขาความมั่นคงและให้ความสำคัญในประเด็นความมั่นคงในมิติต่าง ๆ เช่น การต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางทะเล


กลไกความร่วมมือที่สำคัญ

  • อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา
  • อนุสัญญาบิมสเทคว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย
    องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการลักลอบค้ายาเสพติด
เมียนมา
ประเทศนำสาขาการค้า การลงทุนและการพัฒนา
เข้าร่วมเป็นสมาชิกบิมสเทคเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ปัจจุบันเมียนมาเป็นประเทศนําสาขาความร่วมมือการเกษตร และความมั่นคงทางอาหาร (Agriculture and Food Security)

กลไกความร่วมมือที่สำคัญ
  • กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือทางการเกษตร
เนปาล
ประเทศนำสาขาการติดต่อระหว่างประชาชน

เข้าร่วมเป็นสมาชิกบิมสเทคเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปัจจุบันเนปาล เป็นประเทศนำสาขาการติดต่อระหว่างประชาชน (People-to-people contact) ซึ่งครอบคลุม 3 สาขาย่อย ได้แก่ 1) วัฒนธรรม 2) การท่องเที่ยวและ 3) การติดต่อระหว่างประชาชน

 

กลไกความร่วมมือที่สำคัญ

  • บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะกรรมการอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
    และศูนย์ปฏิบัติการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมบิมสเทค
ศรีลังกา
ประเทศนำสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
หนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งบิมสเทค ปัจจุบันศรีลังกาเป็นประเทศนำสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science, Technology and Innovation) ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านเทคโนโลยี สาธารณสุขและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กลไกความร่วมมือที่สำคัญ
  • บันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีบิมสเทค
  • กลไกขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิมของบิมสเทค
ไทย
ประเทศนำสาขาความเชื่อมโยง
หนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งบิมสเทค ปัจจุบันไทยเป็นประเทศนำ ในสาขาความเชื่อมโยง โดยประสงค์จะผลักดันความเชื่อมโยงทั้งด้าน โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม พลังงาน ดิจิทัล กฎระเบียบ ตลาด ความเชื่อมโยงภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างความต่อเนื่องของห่วงโซ่อุปทาน

กลไกความร่วมมือที่สำคัญ
  • แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม
  • ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล (อยู่ระหว่างการเจรจา)