เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ไทยในฐานะประธานบิมสเทคเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสาหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือ บิมสเทค (BIMSTEC) ครั้งที่ ๑๙ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน และนายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจากระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมในฐานะผู้แทนไทย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำว่าบิมสเทคจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อผลักดันให้บิมสเทคเป็นผู้เล่นในภูมิภาคที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันและสามารถมีบทบาทนำในการส่งเสริมให้อ่าวเบงกอลเป็นภูมิภาคที่ปลอดภัย มั่นคง และมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็สามารถมีบทบาทและส่วนร่วมต่อประเด็นระดับโลก เช่น การพัฒนามนุษย์ การพัฒนาสีเขียว ตลอดจนประเด็นความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030) ซึ่งเป็นเอกสารระดับผู้นำที่ไทยนำเสนอ เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือบิมสเทคสู่การเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่ง (Prosperous) ยั่งยืน ฟื้นคืน (Resilient) และเปิดกว้าง (Open) ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังมุ่งส่งเสริมให้บิมสเทคเป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจโดยเป้าหมายในวิสัยทัศน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทยด้วย
ที่ประชุมได้เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ เช่น วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030) กฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้กรอบบิมสเทค (Rules of Procedure for BIMSTEC Mechanisms) และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล (Agreement on Maritime Transport Cooperation) โดยเอกสารเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการหารือในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ ๖
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำว่าบิมสเทคจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อผลักดันให้บิมสเทคเป็นผู้เล่นในภูมิภาคที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันและสามารถมีบทบาทนำในการส่งเสริมให้อ่าวเบงกอลเป็นภูมิภาคที่ปลอดภัย มั่นคง และมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็สามารถมีบทบาทและส่วนร่วมต่อประเด็นระดับโลก เช่น การพัฒนามนุษย์ การพัฒนาสีเขียว ตลอดจนประเด็นความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030) ซึ่งเป็นเอกสารระดับผู้นำที่ไทยนำเสนอ เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือบิมสเทคสู่การเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่ง (Prosperous) ยั่งยืน ฟื้นคืน (Resilient) และเปิดกว้าง (Open) ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังมุ่งส่งเสริมให้บิมสเทคเป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจโดยเป้าหมายในวิสัยทัศน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทยด้วย
ที่ประชุมได้เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ เช่น วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐ (Bangkok Vision 2030) กฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้กรอบบิมสเทค (Rules of Procedure for BIMSTEC Mechanisms) และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล (Agreement on Maritime Transport Cooperation) โดยเอกสารเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการหารือในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ ๖
Previous
Next