บทบาทไทยในช่วงดำรงตำแหน่ง ประธานบิมสเทค

ความเชื่อมโยงทางทะเล
ผ่านความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้า และเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่าง ท่าเรือของประเทศรอบอ่าวเบงกอลอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเชื่อมโยงทางบก
การผลักดันโครงการที่สำคัญภายใต้การปฏิบัติตาม แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคมของบิมสเทค จากการเจรจาตกลงทางด้านยานยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการขนส่งข้ามชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก และผลักดัน โครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม อินเดีย-เมียนมา-ไทย
ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล
ดำเนินการผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่อำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะเน้นการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน และประหยัดเวลาในการทำธุรกิจ
ความเชื่อมโยงด้านพลังงาน

เป็นรากฐานของการผลิต และอุตสาหกรรม
โดยเชื่อมโยงไปกับแนวคิดโมเดลการพัฒนา
เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวหรือโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy Model) ด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานชีวมวล ในระดับฐานรากอย่างกว้างขวาง ผ่านการผลักดันการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบไฟฟ้าภายใต้บิมสเทค

ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
บิมสเทคมีความโดดเด่นเรื่องของ “คน” ที่ประชาชน ของประเทศสมาชิกมีความผูกพันทางประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรม ซึ่งนับเป็นรากฐานที่สำคัญ ของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเป็นหัวใจสำคัญของ การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้มีความยั่งยืนและสมดุล

ประเทศไทย ในฐานะประธานบิมสเทค

ไทยรับตำแหน่งประธานบิมสเทคเมื่อการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 วันที่ 30 มีนาคม 2565 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่าง ปี 2565 – 2566 ไทยเป็นประเทศนำสาขาความเชื่อมโยง ซึ่งไทย ต้องการผลักดันความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม พลังงาน ดิจิทัล กฎระเบียบและการตลาด และความเป็นอยู่ ของประชาชน

แผนการดำเนินงาน และผลประโยชน์ต่อประชาชนไทย

1. การเป็นเจ้าภาพ การประชุมสำคัญ
ส่งเสริมการจ้างงาน และพัฒนาศักยภาพ ภาคเอกชนของไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ
2. ใช้โอกาสและให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ
สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านการเจรจาตกลง และดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. การพัฒนาศักยภาพ ต่อประชาชนไทย
เผยแพร่แนวคิดโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวหรือโมเดล เศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy Model) ที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน
4. ผลักดันความเชื่อมโยง ตามแผนแม่บท
ผลักดันเส้นทางคมนาคม เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC ) สู่ฝั่งทะเลอันดามัน จากภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย
5. เชื่อมโยงการค้า และการผลิตสู่ห่วงโซ่อุปทาน
ผลักดันการเจรจาเขตการค้าเสรีบิมสเทค ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศสมาชิก ที่มีตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน
Previous
Next